....ยินต้อนรับเข้าสู่blog ของ วรรณค่ะ....

Lecture

บทที่ 6 การออกเเบบหน้าเว็บไซต์

หลักสำคัญในการออกเเบหน้าเว็บไซต์ คือ การใช้รูปภาพเเละองค์ประกอบต่างๆ ร่วมกันเพื่อสื่อความหมายเกี่ยวกับเนื้อหาหรือลักษณะสำคัญของเว็บให้น่าสนใจ บนพื้นฐานของความเรียบง่ายเเละสะดวกของผู้ใช้

เเนวคิดในการออกเเบบหน้าเว็บ

  • เรียนรู้จากเว็บไซต์ต่างๆ
  • ประยุกต์รูปแบบจากสื่อพิมพ์
  • ใช้เเบบจำลองเปรียบเทียบ (Metaphor)
  • ออกแบบอย่างสร้างสรรค์

    หลักการออกเเบบหน้าเว็บ

    1.สร้างลำดับชั้นความสำคัญขององค์ประกอบ
    จัดตำเเหน่งเเละลำดับขององค์ประกอบ เเสดงลำดับความสำคัญของข้อมูลที่ต้องการให้ผู้ใช้ได้รับเนื่องจากภาษาส่วนใหญ่จะอ่านจากซ้ายไปขวา เเละจากบน ลงล่าง จึงควรจัดวางสิ่งที่สำคัญไว้ที่ส่วนบนหรือด้านซ้ายของหน้าอยู่เสมอ

    2. สร้างรูปแบบ บุคลิกเเละสไตล์
    รูปแแบบ การเลือกรูปแบบเว็บที่เหมาะสมจะช่วยสร้างความเข้าใจของผู็ใช้ได้ดีขึ้น บุคลิก เว็บเเต่ละประเภทอาจมีบุคลิกลักษณะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเนื้อหาเเละเป้าหมายในการนำเสนอสไตล์ คือ ลักษณะการจัดโครงสร้างของหน้า ณุปแบบกราฟิก ชนิดเเละการจัดตัวอักษร ชุดสีที่ใช้ รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ซึ่งไม่ควรสร้างตามใจชอบ

    3.สร้างความสม่ำเสมอตลอดทั่วทั้งไซต์
    ความสม่ำเสมอของโครงสร้างเว็บเเละระบบเนวิเกชั่น ทำให้รู้สึกคุ้นเคยเเละสามารถคาดการณ์  ลักษณะของเว็บได้ล่วงหน้า ทางด้านเทคนิดสามารถใช้ css กำหนดได้เพื่อให้เป็นมารตฐานเดียวกัน

    4.จัดวางองค์ประกอบที่สำคัญไว้ในส่วนบนของหน้าเสมอ ควรประกอบด้วย
    1.ชื่อของเว็บ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รู้ทันทีว่ากำลังอยู่ในเว็บอะไร
    2.ชื่อหัวเรื่อง
    3.สิ่งสำคัญที่เราต้องการโปรโมตเว็บ

    4.ระบบเนวิเกชั่น

    5.สร้างจุดสนใจด้วยความเเตกต่าง
    การจัดองค์ประกอบให้ภาพรวมของหน้ามีความเเตกต่างเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำสายตาผู้อ่านไปยังบริเวณต่างๆ โดยการใช้สีที่ตัดกัน

    6. จัดเเต่งหน้าเว็บให้เป็นระเบียบ
    เนื้้อหาในหน้าเว็บจำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบที่ดูง่ายเเยกเป็นสัดส่วน เเละดูไม่เเน่นจนเกินไป

    7.ใช้กราฟฟิกอย่างเหมาะสม
    ควรใช้กราฟิกที่เป็นไอคอน ปุ่ม ลายเส้น เเละสิ่งอื่นๆ ตามความเหมาะสมเเละไม่มากเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงโครงสร้างที่หยุ่งเหยิงเเละไม่เป็นระเบียบ ส่วนตัวอักษรขนาดใหญ่ด้วยคำสั่ง h1 เเละ h2 ควรใช้ในปริมาณน้อยๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์สูงสุด









    บทที่ 10 การจัดรูปแบบตัวอักษรสำหรับเว็บไซต์

    ส่วนประกอบของตัวอักษร



      ในแต่ละตัวอักษรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่เราน่าจะรู้จักไว้ เพื่อที่จะใช้ประโยชน์เมื่อต้องการเปรียบเทียบลักษณะของตัวอักษณแต่ละชนิดได้ ส่วนประกอบหลัก ๆ ที่ควรรู้จัก มีดังนี้

  • Ascender ส่วนบนของตัวอักษรพิมพ์เล็ก ที่สูงกว่าความสูง x-height ของตัวอักษร
  • Descender ส่วนล่างของตัวอักษรพิมพ์เล็กที่ต่ำกว่าเส้น baseline ของตัวอักษร
  • Baseline เส้นสมมุติที่ตัวอักษรส่วนใหญ่ตั้งอยู่
  • Cap height ความสูงจากเส้น baseline ไปถึงส่วนบนสุดของตัวอักษรพิมพ์ใหญ่
  • x-height หมายถึง ความสูงของตัวอักษร x ในแบบพิมพ์เล็ก ซึ่งมักจะใช้อ้างถึงความสูงของตัวอักษรที่ไม่รวมส่วนบนและส่วนล่าง
  • point size ระยะความสูงทั้งหมดวัดจากส่วนบนสุดถึงส่วนล่างสุดของตัวอักษร





  • ช่องว่างระหว่างตัวอักษร (Tracking) และช่องว่างระหว่างคำ




       ความรู้สึกของตัวอักษรอาจจะเป็นผลมาจากพื้อที่ว่างโดยรอบ ที่อยู่ระหว่างตัวอักษร ระหว่างคำ หรือระหว่างบรรทัด คุณสามารถปรับระยะของช่องว่างเหล่านี้เพื่อให้อ่านได้ง่ายขึ้น แม้ว่าตัวอักษรจะถูกออกแบบมาให้มีระยะห่างที่เหมาะสมอยู่แล้ว แต่ในบางสถานการณ์ อาจมีความต้องการให้ตัวอักษรดูแน่นหรือหลวมเป็นพิเศษ อย่างเช่นตัวอักษีที่ใช้ ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด (UPPERCASE) จะดูค่อนข้างแน่นเพราะถูกออกแบบให้ใช้ร่วมกับตัวพิมพ์เล็กดังนั้นคุณควรเพิ่มช่องว่างระหว่างตัวอักษรให้มากขึ้นเล็กน้อย สำหรับคำที่ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด
        ตัวอักษรบางคู่ที่อยู่ติดกันอาจมีระยะห่างไม่เหมาะสม จำเป็นต้องทำการปรับแต่งที่เรียกว่า Kerning เป็นการปรับระยะห่างระหว่างคู่ของตัวอักษร ซึ่งจะมีความสำคัญมากเมื่อใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่หรือตัวอักษรที่ใช้เป็นหัวข้อหลัก เพราะเมื่อตัวอักษรใหญ่ขึ้นก็จะเกิดช่องว่างที่มากขึ้นด้วย จุดประสงค์ของการทำ kerning คือการปรับระยะห่างของตัวอักษรให้เท่ากันโดยตลอด เพื่อที่สายตาจะได้เคลื่อนที่อย่างราบเรียบและสม่ำเสมอ
       ช่องว่างระหว่างคำสำหรับภาษาอังกฤษ หรือ ช่องว่างระหว่างคำในภาษาไทย เป็นสิ่งที่ควรจะเท่ากันเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการจัดตำแหน่งแบบ Justify ช่องว่างของแต่ละคำจะแตกต่างกันไปในแต่ละบรรทัด เพื่อช่วยให้ขอบซ้ายและขวาเท่ากัน คุณอาจต้องใช้เครื่องหมายยัติภังค์ (-) มาช่วยแยกคำให้อยู่คนละบรรทัด หรือปรับเปลี่ยนการเว้รวรรคใหม่ เพื่อไม่ให้มีช่องว่างมากเกินไป


    การจัดตำแหน่ง (Alignmen)
       การจำตำแหน่งของตัวอักษรในแต่ละส่วนมีผลต่อความรู้สึกของเอกสาร โดยที่การจัดตำแหน่งแต่ละแบบจะให้ความรู้สึกที่ต่างกัน ตัวอักษรที่ถูกจัดให้ชิดขอบด้านซ้ายโดยที่ปล่อยให้ด้านขวามีลักษณะไม่สม่ำเสมอ จะให้ความรู้สึกไม่เป็นทางการ และจะอ่านได้ง่ายกว่าการจัดชิดขอบขวา โดยทั่วไปแล้วพยายามหลีกเลี่ยงการจัดชิดขวา ยกเว้นเมื่อมีความเหมาะสมกับรูปแบบจริงๆ ส่วนตัวอักษรที่มีการปรับระยะให้ชิดขอบทั้งซ้ายและขวา (Justify) เป็นที่นิยมใช้ในหนังสือพิมพ์และจุลสาร พร้อมกับให้คามรู้สึกที่เป็นทางการอีกด้วย





    ความสำคัญของการออกแบบเว็บไซต์

    การออกแบบเว็บไซต์ไม่ได้หมายความแต่เพียงลักษณะหน้าตาของเว็บไซต์เพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องตั้งแต่การกำหนดเป้าหมายของเว็บไซต์ กลุ่มผู้ใช้ การจัดการระบบข้อมูล การสร้างระบบเนวิเกชัน การออกแบบหน้าเว็บ ซึ่งรวมไปถึงการเลือกใช้กราฟฟิค สี รูปแบบตัวอักษร เพราะในบางครั้ง เว็บไซต์ที่ดูสวยงามและมีลูกเล่นอื่นๆ มากมาย ก็ไม่ได้หมายความว่ามีการออกแบบที่ดีได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การออกแบบเว็บไซต์ไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับลักษณะและเป้าหมายของเจ้าของ โดยคำนึงถึงความสะดวกในการใช้งานของผู้ใช้เป็นหลัก


    องค์ประกอบของการออกแบบเว็บไซต์ที่ดี

    1. ความเรียบง่าย (Simplicity) การสื่อสารเนื้อหาถึงผู้ใช้โดยจำกัดองค์ประกอบเสริมที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอให้เหลือเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น เช่น อาจไม่ทำตัวอักษรวิ่งวนไปมาให้ลายตา การใช้ชนิดของตัวอักษร ไม่มากจนเกิดความวุ่นวาย หรือใช้สีตัวอักษรที่ฉูดฉาดเกินไป

    2.ความสม่ำเสมอ (Consistency) การใช้รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งไซต์ เนื่องจากผู้ใช้จะรู้สึกกับว่าเว็บไซต์เสมือนสถานที่จริง ถ้าลักษณะของแต่ละหน้าแตกต่างกันมาก ผู้ใช้จะเกิดความสับสนหรือไม่แน่ใจว่ากำลังอยู่ในเว็บเดิมหรือไม่ 

    3.ความเป็นเอกลักษณ์ (Identity) การออกแบบควรคำนึงถึงภาพรวมขององค์กร เช่น ถ้าออกแบบเว็บไซต์เกี่ยวกับเด็ก วัยรุ่น ควรมีสีสันสดใส หรือการออกแบบเว็บไซต์ของธนาคารไม่ควรจะดูเหมือนสวนสนุก ผู้ออกแบบต้องเลือกใช้องค์ประกอบเหล่านี้อย่างเหมาะสม

    4.เนื้อหามีประโยชน์ (Useful Content) เนื้อหาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในเว็บไซต์ ดังนั้น ควรเตรียมเนื้อหาและข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการให้ถูกต้องสมบูรณ์ โดยมีการปรับปรุงเพิ่มเติมให้ทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ

    5.ระบบเนวิเกชันที่ใช้งานง่าย (User-Friendly Navigation) เนวิเกชันเสมือนป้ายบอกทางให้กับผู้ใช้ การออกแบบเนวิเกชัน ควรออกแบบให้วางในตำแหน่งเดียวกันของทุกๆ หน้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน

    6.มีลักษณะที่น่าสนใจ (Visual Appeal) เป็นเรื่องยากที่จะตัดสินว่าหน้าตาของแต่ละเว็บไซต์แห่งหนึ่งแห่งใดน่าสนใจหรือไม่ เพราะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบความชอบของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ดีหน้าตาของเว็บไซต์จะมีความสัมพันธ์กับคุณภาพขององค์ประกอบต่างๆ เช่น ภาพกราฟฟิกจะต้องสมบูรณ์ไม่เป็นรอย หรือจุดด่าง หรือมีเส้นขอบเป็นขั้นบันได การใช้โทนสีที่เข้ากันอย่างสวยงาม ตลอดจนตัวอักษรที่อ่านง่าย สบายตา เป็นต้น

    7.การใช้งานอย่างไม่จำกัด (Compatibility) การออกแบบให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่เข้าถึงได้มากที่สุด โดยไม่มีการบังคับให้ผู้ใช้ต้องติดตั้งโปรแกรมใดๆ เพิ่มเติม หรือสามารถแสดงผลได้ในทุกๆ ระบบปฏิบัติการที่มีความละเอียดของหน้าจอที่ต่างกันได้อย่างไม่มีปัญหา